วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การเพลาะไม้
          หมายถึง การนำแผ่นไม้มาเรียงแล้วอัดเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มความกว้าง ของขนาดไม้ให้ได้ตามต้องการ เพราะไม้ขนาดใหญ่ๆ นั้นในปัจจุบันหายาก จึงต้องใช้เทคนิคนี้ในการเพิ่มความกว้างของไม้ตามวัตถุประสงค์ของเรา คือ การเพิ่มความกว้างของไม้ ที่จะใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ ทำพื้นโต๊ะ พื้นเก้าอี้ พื้นบ้าน หรือผนังบ้านเรือนไทยที่ยกมาทั้งฝาบ้านกันเลย ต้องอาศัยการเพลาะไม้ เข้าไม้ การต่อไม้ เช่นกัน
          การเพลาะไม้มี ที่นิยมกัน 7 วิธี ด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1.         การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาว (glued and rubbed joint)
2.         การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับเดือยไม้ (glued and dowelled joint)
3.         การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับการบังใบ (glued and rebated joint)
4.         การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับรางลิ้น (glued and tongued or grooved joint)
5.         การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับการสอดลิ้น (glued and tongued or feathered joint)
6.         การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับตะปูเกลียว (glued and wood screws)
7.         การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับตะปู (glued and nail joint) 

รูปแสดงตัวอย่างการเพลาะไม้ลักษณะต่างๆ










วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การประกอบไม้วิธีต่างๆ
1. การเข้าไม้ให้แข็งแรง (Making joints stronger) เป็นการนำไม้มาชนกันทำให้เกิดเป็นมุมขึ้น เช่น มุมฉาก หรือมุมอื่นๆ การเข้าไม้มีวิธีการทำได้หลายวิธีแล้วแต่ความเหมาะสมของงานเพื่อให้เกิดความแข็งแรงมากที่สุด อาจพิจารณาจากความหนาของไม้ คุณภาพไม้ และทิศทางของแรงที่จะกระทำกับรอยต่อ การเข้าไม้เป็นเรื่องสำคัญ และเป็นพื้นฐานของงานโครงสร้างต่างๆ ในงานทำเฟอร์นิเจอร์ วิธีการเข้าไม้มีหลายแบบที่ใช้กันดังนี้
1.1  การเข้าชน (Butt Joint) เป็นวิธีที่ง่าย โดยนำด้านหนึ่งของไม้นาชนิดติดกับผิวหน้าของไม้อีกท่อนหนึ่ง ดังนั้นการเข้าชนไม้วิธีนี้จะไม่แข็งแรงเท่าไรนัก และจะเห็นรอยต่อชัดเจน การเข้าเดือยหรือยึดมุมจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงตรงรอยต่อได้มาขึ้น เช่น ตะปู ตะปูเกลียว หรือไม้สามเหลี่ยมยึดมุม
 1.2 การเข้าขอบไม้แบบมีเดือย (Edge by dowel joint) หรือเรียกอีกอย่างว่า การต่อทาบหรือเพลาะไม้ เป็นการเข้าไม้ด้วยการต่อขอบไม้เข้าด้วยกัน และยึดด้วยการ โดยใช้เดือยหรือสลักเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เดือยหรือสลักอาจทำจากไม้เนื้อแข็งก็ได้ เช่น การทำพื้นกระดานบ้านหรือพื้นโต๊ะอาหาร
1.3 การเข้าบากร่อง (Dado joint) หรือการเข้าบ่าไม้ เป็นการเข้าไม้วิธีหนึ่งที่ให้ความแข็งแรง การบากไม้แบบนี้นิยมกับงานทำลิ้นชัก ชั้นวางของ ตู้เก็บหนังสือ บันไดเป็นต้น
 1.4 การเข้าบากอม (Gross lap joint) ลักษณะการเข้าไม้จะแตกต่างกับการเข้าบากร่อง คือเมื่อนำไม้มาประกอบกันแล้ว จะเป็นรูปกากบาท (X) มีความแข็งแรงมากขึ้น นิยมใช้กับงานทั่วๆ ไป เช่น โครงสร้างงานเฟอร์นิเจอร์ ขาโต๊ะ โครงเก้าอี้ และอื่นๆ
1.5 การเข้ามุมไม้ (Rabbet joint) เป็นการนำไม้ 2 ท่อนมากวางทับกัน โดยบากไม้ลึกประมาณ 1 ใน 4 ส่วนของความหนาไม้ แล้วยึดระหว่างมุมของไม้ 2 ท่อน การเข้ามุมไม้แบบนี้ใช้กับงานทำลิ้นชัก หรือตู้เก็บหนังสือ
1.6 การเข้าปากกบ (Miter joint) หรือการเข้ามุม 45 เป็นการเข้ามุมอีกวิธีหนึ่ง แต่ตรงหัวไม้ทั้ง 2 ท่อนจะตัด 45 เมื่อนำมาประกอบกันจะได้มุมฉาก (90) เป็นการเข้ามุมเพื่อปกปิดรอยตัดของหัวไม้ ความแข็งแรงอาจทำได้โดยใช่ลิ่มหรือลิ้นเสริมตรงรอยต่อ การเข้าปากกบนิยมใช้กับงานทำกรอบรูป หรือทำวงกบประตู และหน้าต่าง 
1.7 การเข้าเดือยไม้ (Mortise and tenon joint) นิยมทำกันทั่วๆ ไป เป็นลักษณะเป็นการเข้าไม้ที่ไม้ท่อนหนึ่งมีแกนไม้ยื่นออกมา เรียกว่า ตัวเดือย และไม้อีกท่อนหนึ่งที่จะประกอบกันจะถูกเจาะเป็นรูขนาดเท่ากับตัวเดือย เรียกว่า รูเดือย เมื่อประกอบกันแล้วจะให้ความแข็งแรงมากงานที่นิยมใช้ คืองานเฟอร์นิเจอร์ กรอบบานประตู หน้าต่าง โครงเก้าอี้นั่ง และโต๊ะ 

ขั้นตอนการทำเดีอยและการเจาะรู
การทำเดือย

การเจาะรู

ขอบคุณ (http://www.thaicarpenter.com)